วัตถุประสงค์
1.สามารถทำการกำหนดผังบัญชี ในส่วนของหนี้สินเพิ่มขึ้นมาใหม่ เช่น บัญชี อาคารสำนักงาน เจ้าหนี้เงินจอง เจ้าหนี้เงินทำสัญญา เจ้าหนี้เงินดาวน์
2.กำหนดกลุ่มบัญชิสินค้า เพื่อให้ทำการบันทึกกลุ่มรหัสสินค้า
3.กำหนดรหัสสินค้าที่มี Stock เพื่อให้สามารถดูยอดคงเหลือหรือรายงานสินค้าได้ ตลอดจนสินค้าบริการ
4.การกำหนดเอกสารรับเงินมัดจำ เมื่อลูกค้าตกลงทำสัญญาซื้อบ้าน กับทางบริษัท ทางบริษัทจะได้รับเงินจอง และเงินทำสัญญา
เอกสารประกอบธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์
การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น
ขั้นตอนที่ 1 ทำการกำหนดผังบัญชี ในส่วนของหนี้สินเพิ่มขึ้นมาใหม่ ที่เมนู Enterprise Manager > GL Setup > กำหนดรหัสบัญชี
บัญชี |
หมวด |
เลขที่บัญชี |
อาคารสำนักงาน |
ทรัพย์สิน |
12420-00 |
เจ้าหนี้เงินจอง |
หนี้สิน |
21200-02 |
เจ้าหนี้เงินทำสัญญา |
หนี้สิน |
21200-03 |
เจ้าหนี้เงินดาวน์ |
หนี้สิน |
21200-04 |
|
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกลุ่มบัญชิสินค้า เพื่อให้ทำการบันทึก อาคาร ที่เมนู Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสกลุ่มสินค้า
ขั้นตอนที่ 3 กำหนดรหัสสินค้าที่มี Stock เพื่อให้สามารถดูยอดคงเหลือหรือรายงานสินค้าได้ ที่ เมนู Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสสินค้า
ขั้นตอนที่ 4 ทำการกำหนด รหัสสินค้าบริการ ที่เมนู Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสสินค้าบริการ
ขั้นตอนที่ 5 ทำการกำหนดเอกสารรับเงินมัดจำ ที่เมนู Enterprise Manager > GL Setup > กำหนดเอกสารเชื่อม GL
ขั้นตอนที่ 6 บันทึกรายละเอียดลูกค้าที่ต้องการขายสินค้า ได้ที่เมนู Enterprise Manager >AR Setup > กำหนดรหัสลูกนี้
ขั้นตอนในการบันทึกรายวันขายอสังหาริมทรัพย์
เมื่อลูกค้ามาดูโครงการและต้องการจะซื้อบ้าน ทางบริษัทจะทำการขายบ้าน โดยราคา บ้าน 3,000,000 บาท จะทำการหักค่าจอง 30,000 บาท หักค่าทำสัญญา 40,000 บาท ส่วนเงินดาวน์ ทางบริษัทให้ลูกค้าผ่อนเงินดาวน์เป็นงวดๆ ได้โดยใช้เวลา 10 งวด เป็นจำนวน 50,000บาท หลังจากนั้น ลูกค้าจะทำการกู้ธนาคารเพื่อทำการโอนบ้านในภายหลัง งวดสุดท้ายที่โอนต้องจ่าย2,880,000 บาท
1. เมื่อลูกค้าตกลงทำสัญญาซื้อบ้าน กับทางบริษัท ทางบริษัทจะได้รับเงินจอง และเงินทำสัญญา โดยบันทึกที่เมนู Sale Order > SO Data Entry > หน้าจอรับเงินมัดจำ
1.1 รับเงินมัดจำ – เงินจอง สามารถกำหนดรายละเอียดเจ้าหนี้เงินจอง ได้ที่ Sale Order > SO Data Entry > หน้าจอรับเงินมัดจำ
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้
1.2 รับเงินมัดจำ – เงินทำสัญญา สามารถกำหนดรายละเอียดเจ้าหนี้เงินจองได้ที่ Sale Order > SO Data Entry > หน้าจอรับเงินมัดจำ
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้
2. จากนั้นทางบริษัท จะให้ลูกค้าทำการผ่อนเงินดาวน์ (สินค้าบริการ)เป็นงวด ๆ ประมาณ 10 งวด โดยจะถือว่าเงินที่ได้ยังไม่ใช่รายได้ บันทึกรายการได้ที่เมนู Sale Order > SO Data Entry > หน้าจอขายเชื่อ
โดยโปรแกรมจะบันทึกบัญชีดังนี้
3. เมื่อรับเงินดาวน์จากลูกค้าจะบันทึกที่เมนู Account Receivable > AR Data Entry > หน้าจอรับชำระหนี้ ซึ่งเงินดาวน์ ทั้ง 10 งวดจะบันทึกรับชำระหนี้ให้ลักษณะ Partial คือโปรแกรมจะเก็บยอดค้างชำระให้จนกว่าจะชำระหนี้ครบ 10 งวด
เมื่อมีการรับชำระหนี้ในงวดถัดไปที่หน้าจอรับชำระหนี้จะแสดง จำนวนเงินทั้งสิ้น ยอดค้างชำระ และยอดชำระ เพื่อให้ทราบว่าลูกหนี้รายนี้มียอดค้างชำระหนี้อยู่เท่าไร
4. เมื่อบริษัทได้รับเงินดาวน์ ครบทั้ง 10 งวด ก็จะทำการเปิดบิลขายบ้านโดยจะมีการตัด Stock บ้านทันทีและจะถือว่าเงินจอง,เงินทำสัญญา เป็นการรับรู้รายได้จริง โดยบันทึก
*หมายเหตุ : สำหรับเงินดาวน์จะถูกตัดที่หน้าจอรับชำระหนี้แล้วทั้ง 10 งวด ดังนั้นให้เก็บยอดเงินดาวน์มาบันทึกเป็นส่วนลดท้ายบิล และที่เอกสารเชื่อม GL ให้ผูกผังบัญชีส่วนลดจ่ายเป็นผังบัญชีของเจ้าหนี้เงินดาวน์แทน
โดยโปรแกรมจะสำหรับการบันทึกบัญชีดังนี้
|